วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Software (เนื้อหา)

Software หมายถึง อะไร
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ 
ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
 มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการ

ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ 
และโปแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์

จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ

 ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista
Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

 เช่น ภาษาสิก
 โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program 
ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language
โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษา

โคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น
เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่

จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย
โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น
   1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ 

การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง
   1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง

 เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ
   1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ

 เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันโปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 
เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน
 เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง
 สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน
มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย  เรียกว่า  โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program) 

ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS
 ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ  โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office 

ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น
 การเรียนรู้ง่ายและสะดวก
                  อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้ง

จำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม  และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้

 ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
  1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที 

 ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา
เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน

 จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น
  2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน

 สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า 
แอสแซมเบอล (Assemlier)
เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง 

แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง
 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษา

คอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่
จำเป็นต้องมีพื้นฐาน
เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้ 

 นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ
 ตัวอย่างเช่น
 - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
 - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการ

จัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก
 - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับ

เครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก
 ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์
 - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ

 การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก
 นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น
 โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้
 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า

 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น
เช่น 0=a,1=b
 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์

เช่น A=0110001,B=011000010
 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์

โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้
     8 Bit      =    1 Byte
 1,024 Byte     =    1 Kilobyte
 1,024 Kilobyte =    1 Megabyte
 1,024 Megabyte =    1 Gigabyte
 - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ

 ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์
 - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล 

เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word
 - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง

 ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ
 - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง

 หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord
- แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์  

ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน
- Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord
- Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord
 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program)
แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://www.comsimple.com/

IT 2(เนื่อหา)



 คุณเคยสงสัยมั๊ยว่าคำว่า " ไอที(IT) " ที่พวกเราชาววัยรุ่นส่วนใหญ่มักเรียกติดปากกันแท้จริงแล้วมันคืออะไร มันมีความหมาย หรือมีประโยชน์อย่างไรต่อเรา แท้จริงแล้วไอที(IT)ย่อมาจากคำว่า Information Technologyซึ่งแปลเป็นไทยมันก็คือ "เทคโนโลยีสารสนเทศ" ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยคุ้นเคย กับคำนี้นี่เอง
     เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมักมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เกือบทั่วทุกวงการล้วนมองเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกันแทบทั้งสิ้นและถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด แม้ว่ารัฐบาลไทยของเราเองนั้นก็ยังเล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
     เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous)คือ คอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือนักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต.


แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้ 

อ้างอิงจาก http://122.155.162.144/nsm2009/it/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A2009-06-08-08-19-42&catid=2%3Anews&Itemid=6&lang=en

IT 1 (เนื้อหา)

ไอที (Information Technology) คือ อะไร?

ไอทีหมายถึงอะไรเป็นคำถามที่หลายๆคนต้องการส่งคำตอบว่าไอทีคืออะไรความหมายของ
ไอทีนั้นรวมมาจากคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศกลายเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถแปลได้ว่า
 IT เป็นชื่อมาจากภาษาอังกฤษซึ่งระบบไอทีนั้นสามารถช่วยเหลืองานให้มีประโยชน์ได้ในทุกๆด้านไม่ว่า
จะเป็นทั้งด้านงานเอกชน และภาครัฐและร้านค้าทั่วๆไปก็ได้มีการนำไอทีเข้ามาเพื่อใช้งานในชีวิต
ประจำวันซึ่งรายละเอียดของไอทีนั้นหมายถึงอะไรอย่างไรบ้างเราจะมาดูกัน

ไอที หมายถึงอะไร

เทคโนโลยีนั้นหมายถึงว่ามีการประยุกต์นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ 
ทั้งเรื่องความเป็นจริงมาให้ประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และสารสนเทศหมายถึงว่า 
ข้อมูลต่างๆที่นำมาดำเนินชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ไอทีหมายถึง การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมารวมกัน รวมเป็น
 เทคโนโลยีสารสนเทศ "Information Technology" ย่อมากจาก IT 
ซึ่งแปลความหมายของเทคโนโลยีคือการสร้างมูลค่าให้กับสารสนเทศให้สามารถใช้งานได้กว้างขวาง
และเทคโนโลยีด้านต่างๆในปัจจุบันก็มีการนำไอทีมาใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีแบบรวบรวม
 จัดเก็บ ส่งต่อ ใช้งาน และสื่อสารซึ่งข้อมูลของไอทีที่มีการนำมาใช้นั้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ 
และอุปกรณ์ต่างๆที่มีซอฟแวร์เกี่ยวกับกับตัวข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลจำพวก
 โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ และหนังสือพิมพ์ และอาจจะเป็นอย่างอื่นๆอีกที่มีทั่วไปภายในชีวิตประจำวัน
ในปัจจุบันนั้นได้กล่าวถึงว่าในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่ง IT ซึ่งคนไทยทุกเพศ ทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก
 ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้นมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเรียกว่า IT และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
 ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถ้าหากว่าเราใช้ประโยชน์จากมันเราจะได้ความรู้ที่มีมากมาย
ภายในโลกของ IT แต่ทว่าใน IT นั้นก็มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีถ้าหากว่าเรารู้จักแยกแยะในเรื่องบางเรื่อง
เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่ง
ถ้าหากว่ามีผู้เล่นที่อยู่ในวัยเด็กนั้นต้องคอยมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำต่างๆแก่เด็กเพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้
อาจจะสร้างอันตรายแก่เด็กได้อันเนื่องมาจากข้อมูลที่เป็นข้อบิดเบือนหรือว่าข้อมูลที่มีอยู่ในแบบของผู้ใหญ่ซึ่ง
ควรอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง และสำหรับในวัยคนชรานั้นอาจจะมีปัญหาในการรับข้อมูลข่าวสารที่ผิดทำ
ให้เข้าใจผิดกันไปใหญ่โดยที่ไม่มีการกรองข่าวสาร

Webpage Development(เนื่อหา)

web development คืออะไร?
... การออกแบบและพัฒนาระบบโปรแกรมมิ่งของเว็บไซต์ให้สามารถควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ทั้งเว็บ ไม่ว่าจะเป็นระบบการแสดงข้อมูล ระบบการประมวลผลข้อมูล ระบบการโต้ตอบผู้เยี่ยมชม ระบบแอดมิน เป็นต้น
... ระบบของเว็บไซต์แบ่งตามประโยชน์การใช้งานได้ 2 ประเภท คือ ระบบที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์การใช้งานของแอดมินหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ และระบบที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์การใช้งานของผู้เยี่ยมชม
web development มีความสำคัญอย่างไร?
... ระบบต่างๆ บนเว็บไซต์จะเป็นตัวขับเคลื่อนและควบคุมเว็บให้ทำงานตามเงื่อนไขที่เราต้องการได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทำให้เว็บไซต์นั้นๆ มีศักยภาพมากกว่าการเป็นเพียงแค่การให้ข้อมูล information ธรรมดา
web development มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
... เพื่อให้ระบบที่จะทำการออกแบบพัฒนาขึ้นมานั้น มีประสิทธิภาพสูงสุดตามเงื่อนไขต่างๆ โดยใช้เวลาในการพัฒนาที่น้อยที่สุดอย่างคุ้มค่า จะต้องมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  • System Analysis คือการวิเคราะห์ระบบ และออกแบบ flowchat ของระบบโดยกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดการประมวลผล และการแสดงผลให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องตรวจเช็คช่องโหว่หรือปิดทางจากเงื่อนไขต่างๆ ให้หมด
  • Coding เป็นการเขียนโคดโปรแกรมมิ่งเพื่อควบคุมฐานข้อมูล และกำหนดเงื่อนไขการทำงานของระบบ
  • Testing เป็นการทดสอบการทำงานจริงของระบบ เพื่อตรวจสอบจุดผิดพลาดหรือ bug โปรแกรม และทำการซ่อมหรือแก้ไข
แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้

อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/ryokoku/2008/10/01/entry-1

การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2(เนื่อหา)

การใช้คอมพิวเตอร์
          1.  การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์
               2.  กดปุ่ม  Power  เพื่อเปิดเครื่อง  จะมีไฟติดที่เครื่องและแป้นพิมพ์
               3.  เปิดสวิตช์จอภาพ  จะมีตัวอักษรขึ้นบนจอภาพ  และเริ่มเข้าสู่โปรแกรม
               4.  ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Start  จะปรากฏกลุ่มงานให้เลือกใช้
               5.  ใช้เมาส์คลิกที่โปรแกรม (Programs)  จะปรากฏแถบรายชื่อโปรแกรมต่าง ๆ ให้เลือก
               6.  คลิกชื่อโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน  โปรแกรมงานก็จะถูกเปิดขึ้นทันที
          2.  การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  คลิกที่ปุ่มปิดโปรแกรม (Close) X
               2.  คลิกที่ปุ่ม Start
               3.  เลือก Shut down
               4.  เลือกตัวเลือกที่ต้องการ
               5.  เลือกปุ่ม OK  แล้วเครื่องจะถูกปิดลง
          3.  การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
               โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)  เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น  จดหมาย  รายงาน  ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้าง  ตกแต่งสีและจัดรูปแบบเอกสารให้สวยงาม  และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
               การเรียกใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
               1.  คลิกปุ่ม Start  ไปที่ Programs
               2.  คลิกเมาส์เพื่อเลือก Microsoft Word  จะปรากฏหน้าต่างของ Microsoft Word
               การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  เพื่อพิมพ์เอกสาร  สามารถปฏิบัติดังนี้
               1.  เลือกแบบตัวอักษร  และขนาดตัวอักษรที่ต้องการ
               2.  พิมพ์ข้อความตามต้องการ
               3.  การแก้ไขข้อความ
                    ถ้าต้องการแก้ไขข้อความก็สามารถทำได้  ดังนี้
                    -  เลื่อนเมาส์มาในหน้าเอกสาร  เคอร์เซอร์ (Cursor)  จะเปลี่ยนเป็น I  (I-beam)
                    -  นำเคอร์เซอร์ไปคลิกตรงข้อความที่ต้องการแก้ไข  และทำการแก้ไข  ดังนี้
                    การแทรกข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ใช้เมาส์คลิกตำแหน่งที่ต้องการแทรก
                    2)  พิมพ์ข้อความที่ต้องการแทรกลงไป
                    การลบตัวอักษรและข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ลบตัวอักษรทีละตัว  ทำได้โดยคลิกให้เครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่หลังอักษร  แล้วกดปุ่ม Backspace
                    2)  ลบข้อความยาว ๆ ให้คลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้  แล้วลากไปที่ข้อความที่ต้องการลบให้เป็นแถบสีดำ  แล้วกดปุ่ม Enter หรือ Delete
          4.  การพิมพ์เอกสารในกระดาษ  มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
                    1)  คลิกที่เมนู File  เลือกคำสั่งพิมพ์  จะปรากฏหน้าต่างการพิมพ์ขึ้น
                    2)  กำหนดเครื่องพิมพ์ที่ใช้
                    3)  เลือกส่วนของระยะหน้า  เช่น
                         -  พิมพ์ทั้งหมด  เครื่องจะพิมพ์ทุกหน้าที่อยู่ในแฟ้ม
                         -  หน้าปัจจุบัน  เครื่องจะพิมพ์หน้าที่มีเครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่
                         -  หน้า  ให้ระบุหน้าที่จะพิมพ์  เช่น  1-5, 8-10
                    4)  เลือกจำนวนชุด  ตอบเป็นชุด  แล้วคลิกปุ่มตกลง
          5.  การจัดเก็บเอกสาร  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  เลือกเมนู File  แล้วคลิกที่ Save หรือ Save As  จะปรากฏหน้าต่าง Save As  ขึ้น
                    2)  เลือกที่สำหรับจัดเก็บ
                    3)  ตั้งชื่อไฟล์
                    4)  คลิก Save
          6.  การปิดเอกสารและออกจากโปรแกรม
                    1)  ถ้าปิดเอกสาร  ถ้าต้องการปิดเอกสารให้กดปุ่ม X ที่อยู่มุมขวาของเอกสารนั้น
                         ถ้าเอกสารนั้นยังไม่ได้ Save จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่าต้องการ Save หรือไม่  ถ้าต้องการให้คลิกที่ใช่ (Yes)  ถ้าไม่ต้องการให้คลิกที่ไม่ใช้ (No)  แต่ถ้าต้องการยกเลิกการปิดเอกสารให้คลิกที่ยกเลิก (Cancel)
                    2)  การออกจากโปรแกรม  มีขั้นตอนดังนี้
                         (1)  คลิกที่เมนู File
                         (2)  เลือกที่ Exit  หรือคลิกที่ปุ่ม X ที่มุมขวาของโปรแกรม

แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/1311

การพัฒนาโปรแกรม 3 (เนื้อหา)

หน่วยที่ 2 หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
 
          ในการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆจำเป็นต้องมีการวางแผน และออกแบบโปรแกรมไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดขั้นตอนวิธีการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งกระบวนการวิเคราะห์ และออกแบบโปรแกรมเรียกว่า วัฏจักรการพัฒนาระบบงาน System Development Lift Cycle ( SDLC) ซึ่งมีกระบวนการทำงานเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาไปจนถึงการนำโปรแกรมไปใช้งาน และปรับปรุงพัฒนาระบบให้ดีขึ้น มีขั้นตอนของ วัฏจักรการพัฒนาระบบงาน ดังต่อไปนี้
                    ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
                    ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
                    ขั้นตอนที่ 3 การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
                    ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ( Program Testing & Verification)
                    ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation)
                    ขั้นตอนที่ 6 การใช้งานจริง (Program Implement)
                    ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance) 
          การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาสามารถจำแนกได้ดังนี้

          1. กำหนดขอบเขตของปัญหา เพื่อให้ทราบขั้นตอนการทำงานต่างๆ ดังนี้
                    •  กำหนดจุดประสงค์การทำงาน เพื่อให้ทราบว่าเขียนโปรแกรมเพื่อต้องการแก้ปัญหาอะไร เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยม เป็นต้น
                    •  กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น โปรแกรมคำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยม ต้องการคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยมได้หลายขนาดและแสดงผลเป็นตัวเลข
                    •  ศึกษาวิธีการแก้ปัญหา เพื่อออกแบบขั้นตอนการทำงานได้อย่างเหมาะสม เช่น การใช้สูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างๆ
                    •  กำหนดข้อจำกัดและศึกษาความเป็นไปได้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ เช่น โปรแกรมคำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยม ต้องการคำนวณพื้นที่ได้เฉพาะรูปสามเหลี่ยม

          2. กำหนดข้อมูลนำเข้า ซึ่งประกอบหัวข้อพิจารณาดังนี้
                    •  กำหนดลักษณะการรับข้อมูล เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ หรือ อ่านข้อมูลจากไฟล์
                    •  รูปแบบข้อมูลที่รับเข้ามาเป็นอย่างไร เช่น ข้อมูลชื่อนิสิตเก็บเป็นตัวอักษรหรือสตริง ข้อมูลเงินเดือนพนักงานเก็บเป็นจำนวนทศนิยม เป็นต้น
                    •  ขอบเขตของข้อมูลมีช่วงค่าของข้อมูลได้เท่าไหร่ เช่น รับข้อมูลเงินเดือนมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 100,000.00 บาท เก็บข้อมูลเป็นจำนวนทศนิยม เป็นต้น
                    •  ข้อจำกัดในการรับข้อมูลอย่างไรบ้าง เช่น รับข้อมูลได้เฉพาะค่าตัวเลขที่มากกว่า 0 เป็นต้น

          3. วิธีการประมวลผล เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการแก้ปัญหา ประกอบด้วยข้อกำหนดดังนี้
                    •  กำหนดวิธีการ หรือเทคนิคที่ใช้แก้ปัญหา ปัญหาต่างๆ จะมีวิธีการปัญหาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพของปัญหา และผู้แก้ปัญหา และปัญหาหนึ่งๆสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยหลายๆ วิธีการ ดังนั้นให้เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับปัญหานั้นๆ
                    •  กำหนดขั้นตอนทำงานให้ชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาตามลำดับการทำงานของวิธีการที่ได้เลือกใช้ และประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

          4. กำหนดผลลัพธ์
                    •  กำหนดรูปแบบการแสดงผล เช่น แสดงผลลัพธ์เป็นภาพกราฟฟิกส์ทางจอภาพ หรือพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
                    •  ตรวจสอบข้อผิดพลาดและความถูกต้องของผลลัพธ์ เช่น ตรวจสอบข้อผิดพลาดจากการคำนวณ ตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่

          5. กำหนดโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ ประกอบด้วย
                    •  ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัด ประเภทของงานและคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์
                    •  วิธีการเก็บข้อมูลและเรียกใช้ตัวแปร เช่นการประกาศตัวแปรอาเรย์ให้สามารถเก็บข้อมูลได้หลายตัว หรือเก็บข้อมูลเป็นคลาส หรือตามโครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ เป็นต้น
          การออกแบบโปรแกรม (Program Design) ประกอบด้วยวิธีการดังนี้ คือ

          1. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ อัลกอริธึม (Algorithm) เป็นการอธิบายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานของการแก้ปัญหาโดยใช้ประโยคข้อความที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ สามารถบอกลำดับการทำงานได้ ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
                    •  ทำให้เห็นลำดับของการทำงานและวิธีการทำงานแต่ละขั้นตอนได้อย่างละเอียด
                    •  ทำให้เห็นภาพรวมของการทำงานของขั้นตอนทั้งหมด
                    •  เป็นการวางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้า ทำให้สามารถนำไปเขียนเป็นโปรแกรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

          2. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ รหัสจำลอง (Pseudo Code) เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมโดยการใช้ข้อความภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลักการทำงานและประโยชน์เหมือนกับการใช้อัลกอริธึ่ม แต่มีข้อดี ดังนี้คือ
                    •  สามารถนำรหัสจำลองไปใช้เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าการใช้อัลกอริธึ่ม เพราะมีความใกล้เคียงกับคำสั่งคอมพิวเตอร์
                    •  ผู้ออกแบบโปรแกรมต้องมีความรู้ทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์บ้าง เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้และเขียนโปรแกรมเป็นภาษาอื่นๆได้หลายภาษา

          3. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ ผังงาน (Flowchart) คือ การใช้สัญลักษณ์รูปภาพ หรือกล่องข้อความบรรยายรายละเอียดการทำงาน และใช้ลูกศรบอกทิศทางลำดับ ของการทำงาน ซึ่งมีข้อดีดังนี้ คือ
                    •  สามารถอ่านและเข้าใจการทำงานได้ง่าย เพราะมองเห็นภาพรวมขั้นตอนการทำงานทั้งหมดได้ชัดเจน
                    •  สามารถออกแบบโครงสร้างการทำงานได้หลากหลายโดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางการทำงาน ทำให้แก้ปัญหาที่มีหลายเลือกและซับซ้อนได้
                    •  คำสั่งหรือคำบรรยายรายละเอียดในกล่องข้อความสามารถนำไปเขียนเป็นคำสั่งของโปรแกรมได้
          การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
          เป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากได้ผ่านการออกแบบโปรแกรมแล้ว โดยการนำแนวคิดจากอัลกอริธึ่ม หรือผังงานมาแปลงให้อยู่ในรูปคำสั่งคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยความรู้และทักษะการเขียนโปรแกรมและใช้ภาษาคอมพิวเตอร์รวมทั้งเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ถุกต้อง และทำงานตามที่เราต้องการ สรุปการเขียนโปรแกรม ต้องพิจารณาองค์ประกอบดังนี้
                    •  เลือกภาษาที่เหมาะสม
                    •  ลงมือเขียนโปรแกรม โดยการแปลงขั้นตอนการทำงาน (ประมวลผล) ที่ได้จากการออกแบบ ให้อยู่ในรูปของคำสั่งที่ถูกต้อง ตรงตามรูปแบบของภาษาที่เลือกนั้น
          การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ( Program Testing & Verification)
          การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม เป็นขั้นตอนการตรวจสอบโปรแกรมที่เขียนได้ ว่าทำงานถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้ หรือตรงตามลักษณะงานของโปรแกรมนั้นหรอไม่ ความผิดพลาด ( Errors) ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเขียนโปรแกรม มีดังนี้
                    •  Syntax Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการใช้คำสั่งผิดรูปแบบที่ภาษานั้นกำหนด เช่น การลืมประกาศตัวแปร การเขียนคำสั่งผิอด เช่น คำสั่ง while( ) เป็น WHILE( )
                    •  Logic Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการที่โปรแกรมทำงานผิดไปจากขั้นตอนที่ควรจะเป็น เช่น การตรวจสอบเงื่อนไขผิดไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ คำนวณค่าได้คำตอบไม่ถูกต้อง หรือ ทำงานผิดลำดับขั้นตอน เป็นต้น
                    •  System Design Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการที่โปรแกรมทำงานได้ไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

          ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
                    •  Desk-Checking ผู้เขียนโปรแกรมตรวจสอบโปรแกรมด้วยตนเอง ถ้าให้ผู้อื่นช่วยดูจะเรียกว่า Structured-Walkthrough
                    •  Translating ตรวจสอบรูปแบบคำสั่งต่างๆที่ใช้ในโปรแกรมโดยตัวแปลภาษา ( Translator) เป็นผู้ตรวจ
                    •  Debugging เป็นการทดลองใช้โปรแกรมจริง เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง เช่น ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงตามความต้องการ ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก Logic Errors และถ้าได้ทดสอบกับผู้ใช้จริงก็จะสามารถตรวจสอบ System Design Errors ได้
          การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation)
          การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งานจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือการเขียนโปรแกรม ได้แก่
                    •  คู่มือสำหรับผู้ใช้โปรแกรม (User's Manual or User's Guide) คือเอกสารที่อธิบายวิธีการใช้ระบบหรือโปรแกรม เรียกว่า User Manual ใช้สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรม แนะนำวิธีการใช้งานโปรแกรม แนะนำคุณสมบัติ และองค์ประกอบของโปรแกรมต่างๆ วิธีการติดตั้งโปรแกรม สามารถทำควบคู่ไปกับการเขียนโปรแกรม อาจทำเป็นคู่มือเอกสารที่อยู่ในรูปแบบโปรแกรมออนไลน์ก็ได้ (Online Manual)
                    •  คู่มือสำหรับผู้เขียนโปรแกรม (Programmer's Manual or Programmer's Guide) เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรม รวมทั้งเทคนิคพิเศษต่างๆ ของโปรแกรม เพื่อให้สะดวกต่อการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมที่มีอยู่เดิม โดยทั่วไปจะเป็นเอกสารแสดงการวิเคราะห์ และออกแบบระบบ เรียกว่า System Manual ใช้สำหรับผู้พัฒนาระบบหรือโปรแกรม เท่านั้น
          การใช้งานจริง (Program Implement)
          การใช้งานจริง เป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากทำการทดสอบและแก้ไขโปรแกรมให้มีความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โดยการนำโปรแกรมไปใช้งานจริงด้วยการป้อนข้อมูลต่างๆ สภาวะแวดล้อม และสถานการณ์ต่างๆโดยผู้ใช้งานโปรแกรมสามารถทำงานตามฟังก์ชั่น และทำตามจุดประสงค์ของโปรแกรมที่เขียนไว้ ขั้นตอนการใช้งานจริงของโปรแกรมหากพบข้อผิดพลาด ก็สามารถปรับปรุง แก้ไข โปรแกรมให้ถูกต้องได้
          การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance)
          การเขียนโปรแกรมที่ดีต้องมีขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยทั่วไปโปรแกรมที่ใช้งานจะประกอบด้วยหลายๆรุ่น เช่นรุ่นทดสอบ (Beta Version) และ รุ่นที่ใช้งานจริง (Release Version) และต้องมีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมให้ดีขึ้น ดังตัวอย่างเช่นโปรแกรมเวอร์ชัน 1 มีการเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไขโปรแกรมเป็นเวอร์ชัน 1.2 เป็นต้นการพัฒนาโปรแกรมให้ดีขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน และผู้เขียนโปรแกรมต้องอาศัยคู่มือการใช้งาน และเอกสารประกอบของโปรแกรม เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข และให้ผู้อื่นๆสามารถพัฒนาต่อได้
 



แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1201104/Unit_2/Unit_1_01_2.htm

การพัฒนาโปรแกรม 2(เนื่อหา)


2.2 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย
  1. การวิเคราะห์ปัญหา
  2. การออกแบบโปรแกรม
  3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
  4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
  5. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
  6. การบำรุงรักษาโปรแกรม

การวิเคราะห์ปัญหา

การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง
  2. พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า
  3. พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง
  4. พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล

การออกแบบโปรแกรม

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น
  1. สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ
  2. ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้
  3. ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน

การทำเอกสารประกอบโปรแกรม

การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
  1. วัตถุประสงค์
  2. ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม
  3. วิธีการใช้โปรแกรม
  4. แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
  5. รายละเอียดโปรแกรม
  6. ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ
  7. ผลลัพธ์ของการทดสอบ

การบำรุงรักษาโปรแกรม

เมี่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://61.19.202.164/resource/courseware/problem/k02-02.html